Megatrend และกลยุทธ์การลงทุน
ถาม : จริงไหมที่ ดร นิเวศรวยเพราะจับเทรนใหญ่ได้
ดร นิเวศน์ ตอนที่เลือกซื้อหุ้นก็เมือ่ 5 ปีที่แล้ว คือมองแล้วคิดว่าที่ซื้อกคงถือลงทุนอย่างต่ำ 5 ปี เพะราสิ่งที่เราเป้น เราดู มันเป้นกิจการและธุรกิจที่ดีต่อเนื่องไปในเทรนระยะยาว ในขณะที่ซื้อเทรนนั้นก็ผ่านมาแล้วพิสูจนืมาแล้ว 5 ปี คือเราซื้อช่วงกลางๆแล้ว แต่มูลค่าหุ้นก็ยังไม่สะท้อนผลประโยชนืที่ได้รับ พอเราซื้อแล้วถือมาก็พอดีกับที่ราคาขึ้นมารับผลดีดังกล่าวพอดี
คุณอภิรักษ์ : ถ้าเราติดตามวิกฤติท่ผ่านมาเราจะพบว่าตอนนี้กลุ่มปะเทส G20 OECD เริ่มมาพูดคุยกันถึงทิศางการเจริญเติบโตของโลกในระยะยาวมากขึ้น แต่เดิมนั้นทุกประเทศในโลกด้วยตั้งเป้าหายที่จะเติบโตทางด้าน GDP เพียงอย่างเดียว มีลักษณะเป้นทุนนิยม เก็งกำไรแบบสั้นๆ พอเกิดวิกฤติจึงเริ่มตระหนักดีว่า เราจำเป้ฯที่จะต้องมีการพัฒนา ศก ที่ยังยืน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โลกร้อน ต่างๆเป้นที่พูดคุยกันมากขึ้น ในไทยเองก็มีการตื่นตัวมากขึ้นจากกรณีมายตาพุดที่เรามีมุมมองทาง สิงแวดล้อมสำคัญความผลกระทบทาง ศก ที่จะตามมา กระแสต่างๆที่เราสนใจก็ได้แก่
1 กระแสการเติบโตอย่างยั่งยืน ไมได้มองการเติบโตเพียงแต่ประเด็น GDPแต่ต้องดูมิติด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมประกอบด้วย
2 เทรนโลกให้ความสนใจเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อตั้ประชาคมอาเซีน เขตการค้าเสรี FTA รวมทั้ง อาเซียน + 3 คือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือ อาเซียน+ 6 เพิ่ม ออสรีย อินเดีย นิซีแลน เข้ามา เหล่านี้ทำให้ต้องมีการลงทุนพัฒนาสารธารณูปโภคในย่านนี้เพื่อรองรับหลายๆอย่าง เช่น ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีการทำรถไฟเชื่อมต่อกันจากจีนลงไปถึงมาเลย์ หรือแนวคิดประตูเชื่อโลกให้การเดินทางไปประเทศต่างๆในภูมิภาคสดวกสบายยิ่งขึ้น
3อุตสาหกรรมโลกเริ่มมีมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม มีการหยิบยกปัญหาภัยธรรมชาติมาพูดคุยกัน ด้านการขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร คือ ศก ในท้องถิ่นก็กระทบกับ สก โดยรวม สินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ทำให้คนไม่มีเงินไปใช้สอยเงินไม่สะพัดกระทบการลงทุนเป็นต้น
4 การพัฒนาความเป็นเมืองมีการกระจายความเจริญไปสู่ชนบทมากขึ้น ระบบผังเมืองมีการกระจายสินค้าไปสู่ชนบท เป้นการขนายตลาดของสินค้าต่างๆออกไปจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองหลวง รวมทั้งมีการหลังไหลของแรงงานเข้าสู่งเมืองใหญ่ๆ อย่าง กทม ก็ทำให้เกิดวิถีชีวิตที่อยู่ตามคอนโด มากขึ้น การใช้ชีวิคนก็ปรับเปลี่ยนไป
5 การเคลื่นย้ายของคนมากขึ้นมาก การเดินทางของคนมากกว่าก่อน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบินเมือก่อนเป้นเรื่องของคนมีเงิน เดี่ยวนี้สายการบินต้นทุนต่ำมีเป้นจำนวนมากใครๆก็บินได้ ก็ส่งผลให้การท่องเที่ยวต่างๆไปได้ง่ายขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้น หรือกระทั่งการใช้เทคโนโลยีต่างๆ 3G FB ทวิตเตอร์ ก็ทำได้มากมีการกระจายของข้อมูลข่าวการรวดเร็ว ทำงานได้จากทุกดีไม่เป้นอุปสรรคในการเดินทางและการทำงาน
พี่นรินทร์ : กระแสหลักๆของโลก หรอืเมกะเทรนจริงๆแล้วก็มีหลากหลายมากๆแต่ที่เป้นประโยชน์ ก็มี 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ประชากรโลกมีอายุสูงขึ้น เทรนสุขภาพ
2 การก้าวขึ้นมาของประเทศจีนและประเทศเกิดใหม่ทำให้แย่งกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
3การพัฒนาเมือง คนเข้ามาอยุ่ในเมือใหญ่ๆมาขึ้น
อ.นิเวศน์ : เสริมเรื่อง การเคลื่นที่ไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้นที่เป็นเทรนในขณะนี้การมองเรื่องของการท่องเที่ยว การโรงแรม การบินเพราะคนสมัยนี้เดินทางมากกว่าคนสมัยก่อนมาก ท่องเที่ยวได้ตลอดสะดวกสบายและราคาไม่แพงมาก โดยปกติแล้วภาคการท่องเที่ยวของไทยจะเติบโตต่อเนื่อง แต่ปีไหนที่มีวิกฤติก็อาจสะดุดหยุดไป 1 ปี หลังจากนั้นก็จะกลับมาอีก ไม่ค่อยมีปีไหนที่ตกตำไปนานๆ แต่ที่มองอย่างนี้ก็ต้องระวังเพราะ มองว่าธุระกิจมันได้ประโยชน์ก็ต้องมาดูว่าหุ้นในกลุ่มมันดีไหม เพราะอุตสาหกรรมที่ดีดี หลายๆอุตสาหกรรม ก็มีคนแห่กันไปทำ พอมีมากๆมันก็แข่งขันกันตัดราคาจน ผลกำไรน้อยหรือไม่มี เจ้งไปก็มี เมื่อเรารู้เทรน อุตสาหกรรมที่ดีแล้ว ก็ต้องหาหุ้นที่มันเก่ง ดีที่สุดเป้นผุ้นำ ต้านทานการแข่งขันได้
เดิมคนก็ไม่สนใจเรื่องพลังงาน ตอนหลังๆคนก็พุดเรื่องพลังงานขาดแคนมากขึ้นก็เป้นเทรนพลังงานหมดโลกก็ไปสนใจพวกพลังงานทดแทน พลังงานแสงแดด ไบโอดีเซล สุดท้ายก็เจ้งเพราะจริงๆแล้วอุตสาหกรรมดี แต่บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ แข่งขันไม่ได้ต้นทุนสูง
เรือ่งประชากรก็น่าสนใจ เดิมประเทศที่พัฒนาแล้วก็พยายามควบคุมประชากร แต่ตอนนี้ ประเทศไหนที่มีประชากรมากกลับได้เปรียมในการแข่งขันเพราะตลาดใหญ่กว่า แรงงานมีจำนวนมากกว่า ประเทศเจริญ คนมีน้อยก็ต้องย้ายฐานการผลิตหาแรงงานเป้นต้น เทรนก็เริมเปลี่ยนไป
คนแก่มากขึ้น คนเกิดน้อยลง คนรวยเยอะขึ้น เพรั้งแต่ผมเกิดมาก 50 ปี มีไม่กี่ปีที่คนจนลงอันนี้ดูจาก GDP ปรเทศที่เติบโตตลอด มีน้อยปีมากที่ GDP ติดลบ นั่นแปลว่าคนเรารวยขึ้นตลอดมีเงินมากขึ้นในระบบ พวกธนาคารมันก็ดีขยายได้ทุกปี แล้วธุระกิจกองทุนรวมก้น่าสนใจเพราะคนมีเงินก็หาช่องทางในการหาผลตอแทนที่สูงขึ้นการมาลงทุน เพียงแต่ว่าไปหาใคร ใครได้ประโยชน์จากเงินในระบบที่มีมากๆก็คิดเอา
ที่สำคัญคือเมื่อเห็นเทรนแล้ว อุตสาหกรรมที่ดีแล้วก็ต้องดูว่ามีผู้ชนะหรือเปล่าแล้วก็เลือผู้ชนะ
ส่วนที่ถามว่าแล้วโมเดินเทรด ยังอยู่ในเทรนไหม ผมก็มองว่ายังอุ่เพราะยังมีการขยายสาขาได เดิมอาจกระจุกตัวอยู่ในเมือง ตอนนี้ก็ไปชานเมือง เมืองใหญ่ๆและเข้าต่างจังหวัดได้อีกและก็สอดคล้องกับที่ว่าคนมีเงินเยอะขึ้น ส่วนหนึ่งกับใช้จ่ายมากขึ้นพวกนี้ก็ได้ประโยชน์
คุณอภิรักษ์ : ต่อกันเรื่องผลกระทบรอบที่ผ่านมา ไทยซึ่งไม่ได้เป้นสาเหตุแต่ก็ได้รับผลกระทบด้วย ส่วนหนึ่งเพราะรายได้ 70% ของเรามาจากการส่งออก ถ้าคู่ค้าปลายทางแย่เราก็กระทบด้วย กำลังการผลิตในช่วงปกติเราอยุ่ปนะมาณ 70-80% พอเค้าเกิดปัญหาลดเออเดอร เราก้ลดกำลังการผลิตก็ปลดคนงานเกิดปัญหาตามมาอีก รัฐบาลจึงพยายามที่จะลดการพึ่งพา ศก จากต่างประเทศลงเดินการเติบโตภายในจากโดเมสติกเพลมากขึ้น มีการส่งเสริมการเกษตร พัฒนาครัวไทยสุ่ครัวโลก อาหารสด และการท่องเที่ยวเพราะมีนักท่องเที่ยวมาไทยปีละ 15 ล้านคน แต่เทียบกับฝรั่งเศสที่มีคนไปถึง 80 ล้านคนเรายังสามารถพัฒนาเพิ่มการแข่งขันตรงนี้ได้ ยิ่งมีการรวมประชาคมอาเซียนการเดินทางสะดวกก็นะจะเปนผลดี (สรปุมันจะพึ่งภายในตรงไหนหว่าก็ที่พูดมามันก็ไปเกี่ยวข้องพึ่งพาต่างชาติอยุ่ดี อิอิ) อย่าง ศก เกาหลีใต้ที่เมือก่อนเป้นประเทศอุตสหกรรมหลนัก รัฐบาลมีการปรับการลงทุนครั้งใหญ่ เน้นการพัฒนาสินค้าและบริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาพยนต์วัฒนธรรมจนมีชื่อเสี่ยงทั้งที่รากฐานทางวัฒนะธรรมเขาก็ไมได้เข้มแข็งเหมือนหลายๆประเทศแต่เขาสามารถโปรโมตมันออกมาได้ การพัฒนาเทตโนโลยีก็มีสูงและเร็วมาก ซัมซุง LG ตอนนี้แข่งขันได้ทั่วโลก
นอกจากการเติบโตแล้วเรายังต้องเน้นเรื่องความดปรงใส หรือธรรมาภิบาของบริษัทด้วย กระแส CSR ก็กำลังมาแรงในสังคมไทยเช่นกัน
พี่นรินทร์ : กลัมาตาคือกระแสหลักที่กล่าวไว้คือ คนแก่มาขึ้น จีนใหญ่ขึ้น มีเมืองมากขึ้น นอกจากน้นก็อาจมีคนอยากทำงานไม่เอาเงินเดือนมากแต่อยากมีเวลาให้ครอบครัว อืนๆแต่อาจไม่มีหุ้นต่างๆรอบรับเลยขอพูดแค่ 3 กลุมแรก
1คนสุงอายุมากขึ้น ทุกวันนี้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ามากและในปี 2050 นอกจากประชากรโลกจะไม่เพิ่มขึ้นล้วแต่มีแนวโน้มว่าประชากรโลกจะลดลงเป้นครั้งแรกด้วยซ้ำ ทั้งที่แต่เดิมคนกลัวว่าอนาคตคนจะล้นโลกแต่ในความเป็นจริงกับเกิดสิ่งตรงข้าม เรื่องที่ว่าประชากรลดลงมันเกิดมาจากสาเหตุดังนี้
1.1 ประเทศที่เจริญแล้ว คนมีรายได้มากขึ้นนิยมมีลุกน้อยลงหรือมีลุกคนเดียว แล้วทุ่มเทเลี้นยงดูลุกมากขึ้น ต่างจากคนจนที่มีลุกมาก (ดรมองว่าการมีลุกเป้นการลงทุนแบในอดีต อิอิ )
1.2 การแพทย์เจริญรุดหน้าไปไวมาก คนอายื่นขึ้น ในปี 1900 อายุเฉลี่ยของคนยุโรปอยู่ที่ 47 ปีเท่านั้น แต่ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนเพิ่มขึ้นเป็น 70-80 ปี คนเกิดน้อยลง คนตายช้าลงคนเลยมาก มีการแบ่งว่าในประเทศไหนที่มีคนมีอายุเกิน 60 ปีเกิน 25% ของประชากรจัดว่าประเทศนั้นเป้นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดแล้วใน ญี่ปุ่นและในยุโรบตะวันตก ซึ่งหตการนี้จะเกิดกันไทยในอีก 20 ปี คนอายุเกิน 60 ปีจะเพิ่มเป้น 2 เท่าแล้วเราจะลายเป้นสังคมผู้สูงอายุ ที่จะเกิดตามมาคือ โลกจะขาดแคลนแรงงาน ระเทศในกลุ่ม OECD มีคนวัยทำงานลดลงครั้งแรกแล้วในตอนนี้ จีนเองก็เช่นกันแต่จีนที่คนวัทำงานลดลงเพราะนโยบายให้มีลุกครอบครัวละ 1 คน ซึ่งจีนก็วางแผนจะใช้ต่อจนถึงปี 2015 ก็จะเลิก มองในแง่ดีคืออนาคตลุกหนานเราไม่ตกงาน แต่จะกระทบกับ สก เพราคนวัยทำงานลดลงการจัดเก็บภาษีก็ได้น้อยลง ตอนนี้ก็แก้ปัญหาด้วยการเลื่อนการเกษียณอายุออกไป
จากมุมมองดังกล่าวก็มาเข้าประเด็นที่ว่าอะไรน่าสนใจ ซึ่งผมก็มองกลุ่มเฮลแคร์ ถ้าในเมกาก็พวกบริษัทยา ประกันสุขภาพ ในไทยก็คงมีแต่พวกโรงพยาบาลกับประกัน ในที่นี้โฟกัสที่โรงบาลเอกชนที่มีศักยาพในการแข่งขันระดับโลก เหตุที่ทำให้โรงบาลของเราแข่งขันในโลกได้เกิดจาก
1ค่านิยมคนไทยที่คนเก่งที่สุดเรียนหมอ ทำให้หมอของเราเก่งกว่าที่อื่น ต่างจากเมกาที่คนหัวกะทิเค้าจะเลือกเรียนพวกกฏหมาย วิทยาศาสตร์
2 ต้นทุนโรงบาลเราถูกว่าต่างประเทศถึง 5-10 เท่า เช่นบ้านเราค่ารักษา 1 แสน เมืองนอกอาจ 1 ล้านเป้นต้น
3 นโยบาลหาเสียงของโอบาม่า ที่จะให้มีการประกันสุขภาพคนส่วนใหย่หรืออาจทั้งประเทศ แบบนี้โรงบาในประเทศอาจรองรับไม่ไหวต้อง กระจายไปที่อื่นและไทยเป้นปะเทศที่มีศักยภาพรองรับได้ เพราะตอนนี้ไทยเป้นประเทศที่มีการรับคนไข้นอกมากที่สุด
กลุ่มโรงบาลไทย ก็น่าสนใจทั้งกลุ่มแต่ที่น่าสนใจจริงๆ ก็คือโรงบาลที่มีการรับคนต่างชาติ ซึ่งกลุ่มนี้ก็แพงกว่าตลาดประมาณ 40-50% แต่ถ้าเราจะถือยาวๆก็น่า.....
ส่นกลามประกันยังไม่มาเพราะยังยังไม่มีประบบประกันที่เข้มแข็งเหมือนต่างปรเทศ
2 การเข้ามาเป้นตัวขับเคลื่อนศก ของจีนและประเทศใหม่ๆ ปี 1900-2000 คนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีจำนวน 20% ของประชากรโลก แต่คนกลุ่มนี้ใช้ทรัพยากรถึง 80% ของที่มีอยู่ แต่ด้วยโลกาภิวัฒน เทคโนโลยีต่างทำให้พรมแดนและการขยับชนช้นง่ายขึ้นคนอีก 80% ที่เหลือก็จะมีการใช้ทรัพยากรมากข้นแย่งคนกลุ่มแรกใช้ จะส่งผลให้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม้ว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเงินมากกว่า ต่ก็มองข้ามปะเทศ BSIC หือ บลาซิล รัสเซีย อินเดีย จีนไปไมได้ มีการคาดว่าว่าประเทสพกนี้ในอนาคตจะมี GDP สูงกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมดรวมกัน ทั้งนี้เกิดมาจากประทศพวกนี้มีปัญหภายในโดยเฉพาะการเมืองพอเค้าปรับตัวเองเข้ากับโลกาภิวัฒได้เช่น จีน เปิด ศกรับการลงทุนก็ทำให้ สก เติบโตอย่างรวดเร็ว ประทศอื่นๆก็ทำเช่นกันแต่ละประเทศที่ว่ามีมีจุดแข็งต่างกันเช่น จีนมีประชากร อินเดียมีประชากรแถมใช้ภาษาอังกฤษได้ บลาซิลมีทรัพยากรธรรมชาติมาก รัสเซียเช่นัน อินโดด้วย พวกนี้ถ้าเปิดรับการลงทุนคนในประเทศจะมีรายได้มากขึ้น บริโภคมากขึ้น ทรัพยากรก็จะถูกใช้ในอัตราเร่ง อย่างจีนตนนี้ใช้จักรยาน ถ้ามีเงินก็ซื้อรถใช้น้ำมันก้คิดดูว่าจะใช้นำมันขนาดไหนแล้วคนที่เคยมีรถถ้าศกไม่ดีก็คงไม่กลับไปใช้จักรยาน มันจึงเป็นเทรนที่มใช้แล้วมีแต่จะใช้มากขึ้น
ธุนะกิจที่น่าสนใจจึงเปนพวกวัตถุดิบ เช่นน้ำมัน ถานหิน วัตถุก่อสร้าง พลังงาน โลหะต่างๆ หรือพวกคอมโมนิตี้ แต่พวกนี้ก้ต้องดูเพราะมันก็มีรอบถือระยะยาวก็อาจกไรน้อย เช่น โลหะ อย่างทองแดง นิเกล สังกะสี ที่มีการเพิ่มความ้องารใช้มาก แต่พบว่าราคา ทงแดงขึ้นมา 4-5 เท่า อลูมิเนี่ยไม่เปลี่ยน นิเกิลตะกั่วขึ้นมา 1 เท่า ทั้งนี้เป้นเพราะวามต้องการเพิ่ม แต่ทองแดงมันเพิ่มกำลังผลิตแบบตัวอื่นๆได้น้อยมาก ราคาเลยแพง อลุมิเนี่ยต้องการมากก็เพิ่มกำลังผลิตได้ง่ายราคาเลยไม่ไปไหนเวลาก็ก็ดันลงตาม
น้ำมันก้น่าสนใจ สาเหตุเพราะน้ำมันแพงที่แพงก้เกิดจากความต้องการมาก น้ำมันดิบในโลกบ่อใหญ่ๆอยู่ในช่วงท้ายอายุแลวกำลังการดุดน้ำมันก็ลดลง ต้องหาหลุมใหม่ๆทดแทนคาดว่าในปี 2030 กำลังการผลิตน้ำมันจะหายไป 25% ซึ่งเปนจุดที่เพิ่มกำลังการผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการที่ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 45% หรือ ทบ ออยพีคนั่นเอง ก็น่าจะทำให้ราคาพวกนี้สูวขึ้นมาก ไม่ใช่เพราะน้ำมันหมดโลกเพียงแต่ขุดหลุมใหม่ไม่ทันความต้องการของคนใช้
ถ่าหินก็เป็นพลังานทดแทนที่น่าสนใจเพราะมีราคาถูก จีนมีความต้องการถานหินมาก ทั้งที่จริงๆแล้วจียนมีเหมืองอยู่เป้นจำนวนมากแต่อยู่ลึกเข้าไปในแผนดีการขนส่งลำบากจึงลดการส่งออกและนำเข้าถ่านหุ้นจากออสเตเรียมาใช้ ทำให้แย่งจากตลาดโลก
พลังงานทางเลือก เอาเข้าจริงๆก็ยังแข่งขันด้านต้นทุนไมได้ พวกไบดอต่างๆ แสงอาทิตย์ คิดคร่าวๆคือถ้าไบโอดีเซลทั้งหลายจะคุ้มค่าลงทุนน้ำมันต้อง 90เหรียญ หรือพลังงานลมแดด น้ำมันต้อง 100 เรียญถึงคุ้ม ดังั้นถ้ามองว่าพลังงานทางเลือกดี ก้แสดงว่าพลังานทางหลักมันต้องแพงมากๆดีกว่าก็เลือกลงทุนหุ้นพลังงานหลักๆเลยดีกว่า
เทรนเรื่องหลอด LED ที่เค้าว่าประหยัดไฟ (โลกใช้พลังงานส่องสว่าง 6% ของการใช้พลังงานทั้งหมด) ซึ่งไม่มีปัญหาต่อให้ประหยัดไฟเพราะพฤติกรรมคนที่ผ่านมาย่งคดคนอะไรที่ประหยัดออกมาได้คนก็ยึ่งใช้พลังงานฟุ่มเฟือยมากขึ้น
โลหะอุตสาหกรรม ไม่ค่อยแนะนำเพราะไทยมีตัวเลือกน้อยและไม่อยู่ในกลุ่มต้นน้ำที่จะลงทุน
อาหาร ณ วันนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าอาหารมันจะขาดแคลนอาจเร็วไปที่จะลงทุน
อ.นิเวศ : เสริม ในตลาดไทยไม่ค่อยมีหุ้นที่เป้นเจ้าของทรัพยากรเหล่านี้ ถึงมก็น้อยมาก ก็เลยมองพวกที่ดินก็น่าสนเพราะเป้นสิ่งที่ไม่มีเพิ่ม ใครที่มีที่ดินในทำเลที่ดีดี ก็มักได้กำไรดี ยิ่งในอนาคตมีการแข่กันกันเสรีทั่วโลกนี่เราก็ต้องแข่งกับผู้เล่นระดับโลกก้ไม่รู้จะเป้นไง เลยสนใจพวกบริษัทที่มีที่ดิน เป้นผุ้นำ แล้วก็พวกท่องเที่ยวก็น่าจะดีเพราะการเดินทางสะบาย แต่ที่ฝากไว้คือบางครั้งอยู่ในอุตสหกรรมที่เป้นเทรนอย่าง อิเล็กโทรนิค คอมพิวเตอร์ แต่บริษัทเหล่านี้ในไทยก็ไม่ค่อยไปไหน การใช้ประโยชน์จากเมกาเทรนเราต้องเลือกหุ้นที่เป้นผู้ชนะ แข่งขันได้เพราะเป็นเทรนที่บริษัทควบคุมได้ ถึงได้ประโยชน์จริงๆ
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553
TUF ซื้อ MW Brands ขยับเป็นผู้นำแห่งปลาทูน่าโลก
เมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) ซื้อกิจการปลาทูน่ายักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน Chicken of the Sea แล้วก้าวขึ้นมาติดอันดับธุรกิจปลาทูน่าของโลก และล่าสุดพวกเขาซื้อกิจการ MW Brand Holdings S.A.S หรือ MW Brand (MWB) แล้วก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแห่งธุรกิจปลาทูน่าโลก
MW Brands ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและอาหารทะเลในตลาดยุโรป ภายใต้แบรนด์ John West, Petit Navire, Hyacinthe Parmentier และ Mareblu ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำในตลาดฝรั่งเศส อังกฤษ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
ปัจจุบัน MWB ถือครองโดย Trilantic Capital Partners ซึ่งเป็นกองทุนส่วนบุคคล โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการถึง 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ Trilantic ได้เข้าซื้อ MWB จาก HJ Heinz ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานล่าสุด (31 มีนาคม 2553) MWB มียอดขายสูงถึง 448 ล้านยูโร โดยมูลค่าของสินทรัพย์เท่ากับ 559 ล้านยูโร
สำหรับการเข้าลงทุนใน MWB นั้น TUF จะเข้าลงทุนเต็ม 100% มูลค่า 680 ล้านยูโร หรือประมาณ 28,495 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ TUF กลายเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะสามารถแปรรูปวัตถุดิบปลาทูน่าได้ถึง 500,000 ตันต่อปี
อีกทั้ง TUF จะเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทอาหารทะเลที่มีเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วโลก และผลจากการนี้ก็จะทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของกระบวนการผลิตทั้งหมดเข้าไว้ด้วย คือ ตั้งแต่การผลิต การขาย การกระจายสินค้า และการมีแบรนด์ชั้นนำในเอเชีย อเมริกา และยุโรป ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายที่มาจากตลาดยุโรป 11% ของสัดส่วนยอดขายทั้งหมด
“การรวมกันในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกัน สามารถสร้างกลยุทธ์ด้านการตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นผู้นำทางด้านอาหารทะเลของโลกที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตและตลาดผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF เล่า
ด้านอุษณีย์ ลิ่มรัตน์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส มองว่าการที่ TUF ซื้อกิจการ MWB จะเป็นผลบวกน่าประทับใจ และคาดหมายว่าศักยภาพการทำกำไรในแง่ของ Gross margin จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากเป็นการควบรวมกิจการกับบริษัทที่มีศักยภาพการทำกำไรที่สูงกว่า TUF ทั้งนี้ EBITDA margin ของ MWB เฉลี่ยในปี 2552/53 เท่ากับ 18.5% สูงกว่า TUF ที่อยู่ระดับเพียง 8.5% โดย TUF มีแผนที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์จากแบรนด์ของ MWB ในการเจาะตลาดและขยายฐานรายได้มากขึ้นในทวีปยุโรป
อีกทั้งการใช้จุดแข็งจากการที่มีแหล่งวัตถุดิบที่อยู่ใจกลางแหล่งจับปลาทูน่าที่ใหญ่สุดของโลกทั้งในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการจับปลาทูน่าลงได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการประหยัดภาระภาษี ทั้งภาษีนำเข้าทวีปยุโรป (Import tariff tax) ที่ระดับ 24% และภาษีเงินได้ฯ ทั้งในกานา และซีเชลส์ (Seychelles) ที่ระดับ 4% และ 0% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การผนึกพลังทางธุรกิจจากการควบรวมกิจการครั้งนี้ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะ 1-2 ปี ข้างหน้า แต่เนื่องจาก TUF ได้เข้าซื้อกิจการด้วยการก่อหนี้เกือบ 100% และส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยราว 7% โดยในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเป็นทิศทางขาขึ้น จึงเกิดความกังวลกับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะไปหักล้างกับผลบวกของการผนึกพลังทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจนแทบจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการทำกำไรที่สูงขึ้นของ TUF ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า
“การเพิ่มภาระหนี้ระดับสูงจนทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อ EBITDA สูงแตะระดับ 4.25 เท่า
จะทำให้ TUF ต้องลดระดับการจ่ายเงินปันผลในแต่ละปีลงเหลือราว 33% ของกำไรสุทธิ จากเดิม 50% ซึ่ง TUF ได้ยืนยันเกี่ยวกับแผนการลดภาระหนี้สินว่าจะใช้ระยะเวลาภายใน 3 ปี หรือราวปี 2556 จึงจะสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ที่ระดับปกติได้เช่นเดิม” อุษณีย์ ทิ้งท้าย
จากคอลัมน์ Corporate Strategy โดย ฐิติเมธ โภคชัย นิตยสาร M&W กันยายน 2553
MW Brands ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและอาหารทะเลในตลาดยุโรป ภายใต้แบรนด์ John West, Petit Navire, Hyacinthe Parmentier และ Mareblu ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำในตลาดฝรั่งเศส อังกฤษ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
ปัจจุบัน MWB ถือครองโดย Trilantic Capital Partners ซึ่งเป็นกองทุนส่วนบุคคล โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการถึง 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ Trilantic ได้เข้าซื้อ MWB จาก HJ Heinz ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานล่าสุด (31 มีนาคม 2553) MWB มียอดขายสูงถึง 448 ล้านยูโร โดยมูลค่าของสินทรัพย์เท่ากับ 559 ล้านยูโร
สำหรับการเข้าลงทุนใน MWB นั้น TUF จะเข้าลงทุนเต็ม 100% มูลค่า 680 ล้านยูโร หรือประมาณ 28,495 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ TUF กลายเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะสามารถแปรรูปวัตถุดิบปลาทูน่าได้ถึง 500,000 ตันต่อปี
อีกทั้ง TUF จะเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทอาหารทะเลที่มีเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วโลก และผลจากการนี้ก็จะทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของกระบวนการผลิตทั้งหมดเข้าไว้ด้วย คือ ตั้งแต่การผลิต การขาย การกระจายสินค้า และการมีแบรนด์ชั้นนำในเอเชีย อเมริกา และยุโรป ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายที่มาจากตลาดยุโรป 11% ของสัดส่วนยอดขายทั้งหมด
“การรวมกันในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกัน สามารถสร้างกลยุทธ์ด้านการตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นผู้นำทางด้านอาหารทะเลของโลกที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตและตลาดผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF เล่า
ด้านอุษณีย์ ลิ่มรัตน์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส มองว่าการที่ TUF ซื้อกิจการ MWB จะเป็นผลบวกน่าประทับใจ และคาดหมายว่าศักยภาพการทำกำไรในแง่ของ Gross margin จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากเป็นการควบรวมกิจการกับบริษัทที่มีศักยภาพการทำกำไรที่สูงกว่า TUF ทั้งนี้ EBITDA margin ของ MWB เฉลี่ยในปี 2552/53 เท่ากับ 18.5% สูงกว่า TUF ที่อยู่ระดับเพียง 8.5% โดย TUF มีแผนที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์จากแบรนด์ของ MWB ในการเจาะตลาดและขยายฐานรายได้มากขึ้นในทวีปยุโรป
อีกทั้งการใช้จุดแข็งจากการที่มีแหล่งวัตถุดิบที่อยู่ใจกลางแหล่งจับปลาทูน่าที่ใหญ่สุดของโลกทั้งในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการจับปลาทูน่าลงได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการประหยัดภาระภาษี ทั้งภาษีนำเข้าทวีปยุโรป (Import tariff tax) ที่ระดับ 24% และภาษีเงินได้ฯ ทั้งในกานา และซีเชลส์ (Seychelles) ที่ระดับ 4% และ 0% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การผนึกพลังทางธุรกิจจากการควบรวมกิจการครั้งนี้ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะ 1-2 ปี ข้างหน้า แต่เนื่องจาก TUF ได้เข้าซื้อกิจการด้วยการก่อหนี้เกือบ 100% และส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยราว 7% โดยในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเป็นทิศทางขาขึ้น จึงเกิดความกังวลกับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะไปหักล้างกับผลบวกของการผนึกพลังทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจนแทบจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการทำกำไรที่สูงขึ้นของ TUF ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า
“การเพิ่มภาระหนี้ระดับสูงจนทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อ EBITDA สูงแตะระดับ 4.25 เท่า
จะทำให้ TUF ต้องลดระดับการจ่ายเงินปันผลในแต่ละปีลงเหลือราว 33% ของกำไรสุทธิ จากเดิม 50% ซึ่ง TUF ได้ยืนยันเกี่ยวกับแผนการลดภาระหนี้สินว่าจะใช้ระยะเวลาภายใน 3 ปี หรือราวปี 2556 จึงจะสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ที่ระดับปกติได้เช่นเดิม” อุษณีย์ ทิ้งท้าย
จากคอลัมน์ Corporate Strategy โดย ฐิติเมธ โภคชัย นิตยสาร M&W กันยายน 2553
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
แผนการขยายกําลังการผลิต: AJ
AJ มีแผนขยายกําลังการผลิตในสาย BOPA และ BOPET อีกผลิตภัณฑละ 1 เทาตัว โดยไตรมาส 1/54 สาย BOPA จะเพิ่มกําลังการผลิตจากเดิม 5,000 ตันตอปเปน 10,000 ตันตอป และไตรมาส 1/55 BOPET จะเพ่ิมกําลังการผลิตจาก เดิมท่ี 32,000 ตันตอป เปน 60,000 ตันตอปซ่ึงการขยายกําลังการผลิตจะทําให AJ ข้ึนเปน ผูผลิตที่มีกําลังการผลิตมากที่สุดในประเทศ โดยกําลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะเปนปจจัย สนับสนุนใหกาํไรสุทธิของAJเติบโตข้ึนอยางมากในอกี 1-2ปขางหนา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)